เมนู

ในคงคา ถึงว่าศิลานั้นน้อยก็มิอาจจะลอยอยู่เหนือหลังน้ำได้ หรือว่าศิลาน้อยนั้นจะลอยอยู่ได้
นะบพิตรพระราชสมภาร
พระเจ้ามิลินท์ภูมิทราธิบดี มีพระราชองการตรัสว่า น หิ ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
ศิลาน้อยตกน้ำจะลอยอยู่หามิได้
พระนาคเสนจึงซักถามต่อไปว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ถ้าหากว่า
เอาศิลานับด้วยร้อยเล่มเกวียนบรรทุกไว้ในสำเภาอันใหญ่จะพากันลอยอยู่ได้หรือไม่ นะ
บพิตรพระราชสมภาร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทารธิบดี มีพระราชโองการรับว่า อาม ภนฺเต กระนั้นซิพระผู้เป็น
เจ้า อาจจะพากันลอยอยู่ได้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
ศิลานั้นปานดุจอกุศลกรรม นาวานั้นดุจกุศลกรรม ถ้ากุศลกรรมมิได้รับรองอยู่แล้ว ก็มิอาจจะ
พาลอยไปได้ ก็จะจมอยู่ในอบายทั้ง 4 ถ้ากุศลกรรมรับรองอยู่แล้วก็จะพาลอยไปได้ เหตุดังนี้
นรชาติมีแต่ว่าจะมาจมลงในสมุทรสาคร เหตุดังนั้นท่านนักปราชญ์แต่ก่อน จึงวิดซึ่งนาวาอันกล่าว
คืออาตมา ให้บางเบาจากอกุศลมิให้เหลือเศษ เข้าสู่ศิเวศมหานครเมืองแก้วอันเกษมศานต์
คืออมตมหานิพพาน ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ได้ทรงฟังพระนาคเสนองค์พระอรหันต์วิสัชนาแก้ไข
มีน้ำพระทัยโสมนัสตรัสว่า กลฺโลสิ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควร
วัสสสตปัญหา คำรบ 2 จบเท่านี้

อนาคตปัญหา ที่ 3


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมิทราธิบดี มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ ตุมฺเห วายมถ ทุกวันนี้พระผู้เป็นเจ้าพยายามกระทำความ
เพียรเพื่อจะให้บรรเทาทุกข์ อันเป็นอดีตที่ล่วงลับไปนั้นหรือประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้เป็นมหิศราธิบดี อาตมานี้จะ

ได้พยายามกระทำความเพียรเพื่อจะประหาณเสียซึ่งทุกข์อันล่วงไปหามิได้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา วายมถ หรือพระผู้เป็นเจ้าเพียรพยายามเพื่อจะประหาณเสียซึ่งทุกข์ อัน
เป็นปัจจุบันหรือประการใด
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า หามิได้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสซักไว้ว่า พระผู้เป็นเจ้าพยายามเพื่อจะประหาณเสีย
ซึ่งทุกข์ในอนาคตหรือประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า หามิได้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสซักไซ้ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา
ญาณ พระผู้เป็นเจ้าว่าไม่เพียรเพื่อจะประหาณซึ่งทุกข์ในอดีตและอนาคตปัจจุบันนั้น ก็พระผู้
เป็นเจ้าเพียรเพื่อจะดับทุกข์สิ่งไร
พระนาคเสนจึงถวายพระพรแก้ไขว่า ไฉนบพิตรจึงถามฉะนี้เล่า อาตมาได้ถวายพระพร
แก่บพิตรพระราชสมภารเจ้าไว้แต่ก่อนว่า บรรพชาเพื่อว่าจะดับทุกข์นี้และมิให้ทุกข์อันอื่น
บังเกิดได้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ซักไซ้ว่า ทุกข์ที่ยังไม่มาถึงนั้นมีอยู่หรือประการใด
นะพระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ทุกข์ที่ยังไม่มาถึง
มิได้มี
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงมีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต ข้าแต่พระเสน พระผู้เป็น
เจ้านี้มีปัญญาทีเดียว ไฉนเมื่อทุกข์ในอานาคตข้างหน้ามิได้มี ก็ทำไมจึงมาอุตสาหะพยายามเพื่อ
จะดับทุกข์ทั้งไม่มีเล่า นี่ดับอย่างไร โยมยังสงสัยอยู่ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาไปก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ เหมือน
หนึ่งข้าศึกจะบังเกิดมีมาข้างหน้า มหาบพิตรจะให้ข้าศึกมาล้มพระนครก่อน จึงจะให้ขุดค่ายคู
ประตูเชิงเทินหอรบและยุ้งฉาง ตระเตรียมเสบียงอาหารเมื่อข้าศึกมานั้นหรือประการใด
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงตรัสว่า หามิได้ โยมก็ให้ตระเตรียมจัดแจงเสียแต่ก่อนข้าศึกยัง
ไม่มาถึงนะซิ

พระนาคเสจถวายพระพรว่า หมาบพิตรผู้ประเสริฐ ต่อข้าศึกบังเกิดจึงให้ฝึกช้างฝึกรถ
ฝึกธนูหน้าไม้ปืนใหญ่น้อยนานา ฝึกรำศัสตราวุธหอกดาบเพื่อจะปราบศัตรู กระนั้นหรือ
ประการใด
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า โยมให้ฝึกไว้แต่เดิมแต่ข้าศึกยังไม่มา
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เมื่อข้าศึกยังไม่มา
ให้ฝึกไว้เพื่อประโยชน์อันใดเล่า
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า ให้ฝึกไว้เพื่อจะกันภัยข้างหนึ่งนั้นซิ
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ บพิตรกลัวภัย
บังเกิดข้างหน้าหรือประการใด
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า กลัวภัยในอนาคตข้างหน้าจะมาถึงนั้นซิ
พระนาคเสนจึงว่า ดูกรบพิตร อติปณฺฑิโต พระราชสมภารเจ้าทรงพระปัญญาเป็น
นักเป็นหนา ยังว่ากลัวภัยข้างหน้าอันยังไม่มีมา ตกว่าให้ตระเตรียมไว้เสียพร้อมเจียวนะบพิตร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ก็สิ้นสงสัย ปรารถนาจะให้พระนาคเสนอุปมาให้
ประหลาด จึงอาราธนาว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอุปมาให้ภิยโยภาวะยิ่งกว่านี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร บุคคลทั้งหลาย
เห็นปานดังบพิตรกระนี้ปรารถนาจะเสวยอุทกังอยากเป็นกำลังแล้ว จึงให้ขุดสระโบกขรณีและ
ขุดสระศรีอันใหญ่หลวง จะได้ทันกำลังอยากหรือ พระราชสมภาร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้เจริญ โยมนี้เมื่อความอยากยังไม่บังเกิดมี ก็ขุดเสียทีเดียว เพื่อจะให้ทันอยากอัน
จะมีมาข้างหน้า
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า บพิตรทรงพระปัญญานักหนา เมื่อความอยากยังไม่มีมา
ก็จัดแจงให้ขุดสระไว้เสียก่อนเจียว นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ พระองค์อยากจะใคร่ฟังอุปมาใหม่จึงนิมนต์ให้พระนาคเสน
อุปมาต่อไปเล่า
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ปานดุจ
บพิตรพระราชสมภารฉะนี้ อยากเสวยข้าวสาลี จึงมีพระราชโองการให้ถากไถโปรยหว่านลงซึ่ง

ข้าวสาลี ต่อมีความอยากก่อนจึงให้กระทำหรือประการใด
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่าหามิได้ โยมให้กระทำตระเตรียมไว้แต่ยังไม่มีความ
อยาก เพื่อจะกินทันอยากจะมีมาข้างหน้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร บพิตรให้
กระทำไร่ไถนาปลูกข้าวสาลีไว้ก่อน เพื่อจะรักษากันความอยากอันจะมีมาข้างหน้า ฉันใดก็ดี
อาตมานี้ก็พากเพียรไว้แต่หัวที เพื่อจะกันเสียงซึ่งทุกข์อันจะมีมาข้างหน้านั้นก็เหมือนกัน ขอ
ถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากร ทรงพระโสมนัสตรัสว่า กลฺโลสิ พระผู้เป็นเจ้ากล่าว
นี้สมควร
อนาคตปัญหา คำรบ 3 จบเท่านี้

ทูรพรหมโลกปัญหา ที่ 4


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นธรณีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าพรหมโลกกับมนุษย์โลกนี้ ไกลกันสักว่าเท่าไร
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ผู้เป็นใหญ่ในสิริราชสมบัติ พรหมโลกกับมนุษย์โลกนี้ไกลกันมาก ถ้าว่าจะเอาศิลปาปาสาณ
ประมาณท่ากูฏาคารปราสาทโยนลงมาแต่พรหมโลกนั้น วัน 1 กับคืน 1 ศิลาจะตกลงมาไกล
ได้ 48,00 โยชน์ ประมาณ 4 เดือน จึงจะถึงเดิน
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ประชากร มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้ว่า ยังมีบุรุษผู้หนึ่งมีกำลังมาก จะคู่เข้าจะเหยียดออกซึ่งพาหา
แขนซ้ายขวาทั้งสองนั้นรวดเร็วฉันใดก็ดี พระภิกษุที่มีฤทธิ์เป็นวสีชำนาญในฌาน มาตรว่าจะ
อันตรธานหายจากชมพูทวีปนี้ ลัดนิ้วมือหนึ่งก็จะถึงพรหมโลกรวดเร็ว เหมือนบุรุษคู้เข้าและ
เหยียดออกซึ่งแขนนั้น ก็ปานกันกับไปสู่พรหมโลกอันไกลได้มากหลาย 100 โยชน์ ก็เร็ว พลัน
เออก็ไฉนจึงไม่ช้าเหมือนศิลาอันโยนลงมาเล่า